อำเภอเลิงนกทา

เขตการปกครอง

อำเภอเลิงนกทา ประกอบด้วย ๑๐ ตำบล ๑๔๕ หมู่บ้าน

๑. บุ่งค้า (Bung Kha)    ๑๙   หมู่บ้าน
๒. สวาท (Sawat)    ๑๖   หมู่บ้าน
๓. ห้องแซง (Hong Saeng)    ๑๙   หมู่บ้าน
๔. สามัคคี (Samakkhi)    ๑๕   หมู่บ้าน
๕. กุดเชียงหมี (Kut Chiang Mi)    ๑๒   หมู่บ้าน
๖. สามแยก (Sam Yaek)    ๑๕   หมู่บ้าน
๗. กุดแห่ (Kut Hae)    ๑๓   หมู่บ้าน
๘. โคกสำราญ (Khok Samran)    ๑๕   หมู่บ้าน
๙. สร้างมิ่ง (Sang Ming)    ๑๑   หมู่บ้าน
๑๐. ศรีแก้ว (Sang Ming)    ๑๐   หมู่บ้าน

 

จังหวัดยโสธร แบ่งเขตการปกครอง ออกเป็น ๙ อำเภอ ได้แก่

อำเภอเมืองยโสธร อำเภอเลิงนกทา อำเภอไทยเจริญ อำเภอกุดชุม อำเภอทรายมูล
อำเภอป่าติ้ว อำเภอคำเขื่อนแก้ว อำเภอมหาชนะชัย อำเภอค้อวัง
ที่ตั้งและอาณาเขต

อำเภอเลิงนกทา อยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือสุดของจังหวัดยโสธร อยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ ๖๙ กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ ๙๔๓.๘๐๐ ตารางกิโลเมตร หรือ ๕๘๙,๒๕๐ ไร่ โดยมีอาณาเขตติดต่อกับเขตปกครองอื่นๆ ดังนี้

ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอหนองสูง และอำเภอนิคมคำสร้อย (จังหวัดมุกดาหาร)
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอดอนตาล (จังหวัดมุกดาหาร) และอำเภอชานุมาน (จังหวัดอำนาจเจริญ)
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเสนางคนิคม (จังหวัดอำนาจเจริญ) อำเภอไทยเจริญ และอำเภอกุดชุม (จังหวัยโสธร)
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอหนองพอก (จังหวัดร้อยเอ็ด)

 

ประวัติความเป็นมา

เดิมเป็นหมู่บ้านตั้งอยู่ในกลางผืนป่าดงบังอี่ ชื่อว่า บ้านเลิงนกทา ขึ้นกับตำบลหนองสิม อำเภอบุ่ง จังหวัดอุบลราชธานี วันที่ ๑๓ มกราคม ๒๔๖๖ มีขุนประกอบศุขราษฎร์ (เมืองแสน ประกอบสุข) เป็นกำนันตำบลหนองสิม ต่อมาวันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๔๗๙ ยุบตำบลหนองสิม รวมเข้ากับท้องที่ตำบลกุดเชียงหมี บ้านเลิงนกทาจึงขึ้นกับตำบลกุดเชียงหมี อำเภอบุ่ง จังหวัดอุบลราชธานี

วันที่ ๒๓ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๘๐ กระทรวงมหาดไทยได้พิจารณาเห็นว่าท้องที่ตำบลกุดเชียงหมี และตำบลบุ่งค้า ท้องที่อำเภอบุ่ง จังหวัดอุบลราชธานี กับตำบลส้มผ่อ อำเภอยะโสธร จังหวัดอุบลราชธานี ตั้งอยู่ห่างไกลกับที่ว่าการอำเภอมาก และมีท้องที่กว้างขวาง เพื่อสะดวกแก่การปกครอง กระทรวงมหาดไทยจึงได้ตั้งที่ว่าการกิ่งอำเภอที่บ้านเลิงนกทา ตำบลส้มผ่อ (ปัจจุบันเป็นบ้านเลิงนกทา หมู่ที่ ๒ ตำบลสวาท อำเภอเลิงนกทา) จึงเรียกว่า กิ่งอำเภอเลิงนกทา ให้อยู่ในเขตการปกครองของอำเภอบุ่ง จังหวัดอุบลราชธานี มีผลบังคับใช้วันที่ 1 กันยายน พุทธศักราช ๒๔๘๐

วันที่ ๑๘ เมษายน ๒๔๘๑ โอนพื้นที่ตำบลห้องแซง อำเภอยะโสธร มาขึ้นกับกิ่งอำเภอเลิงนกทา อำเภอบุ่ง
วันที่ ๑๒ กันยายน ๒๔๘๑ โอนพื้นที่ตำบลสวาท อำเภอบุ่ง ไปขึ้นกับกิ่งอำเภอเลิงนกทา อำเภอบุ่ง
วันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๔๙๐ กระทรวงมหาดไทยได้ยกฐานะกิ่งอำเภอเลิงนกทา อำเภออำนาจเจริญ ขึ้นเป็น อำเภอเลิงนกทาอ จังหวัดอุบลราชธานี มีผลบังคับใช้วันที่ ๑ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๙๐

พ.ศ. ๒๕๐๖ รัฐบาลอังกฤษได้เสนอที่จะสร้างสนามบินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เพื่อช่วยเหลือปรับปรุงสิ่งอานวยความสะดวกในการส่งกาลังบารุงในพื้นที่ที่มีความสาคัญทาง ยุทธศาสตร์แห่งนี้ สนามบินแห่งนี้จะอานวยความสะดวกแก่เครื่องบินลำเลียงที่มีรัศมีการบินปานกลาง ทั้งของทหารและพลเรือน รัฐบาลไทยได้ตกลงรับข้อเสนอในการให้ความช่วยเหลือดังกล่าวนี้ หลังจากนั้นในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๖ ชุดวางแผนชุดแรก ซึ่งมี พ.ท.อาร์.อี. ยัง. เป็นหัวหน้า ได้เดินทางจากประเทศอังกฤษมายังอำเภอมุกดาหาร เพื่อสำรวจหาพื้นที่ที่เหมาะสมที่จะสร้างสนามบินในที่สุดได้เลือกบริเวณใกล้กับบ้านโคกตลาด (บ้านโคกสาราญ) อำเภอเลิงนกทา จังหวัดอุบลราชธานี เป็นบริเวณที่จะทำการก่อสร้าง ทั้งนี้โดยได้พิจารณาเห็นว่าเป็นบริเวณที่จะให้ความปลอดภัยสำหรับการปฏิบัติการบินของเครื่องบิน มีความเหมาะสมและสะดวกแก่หน่วยช่างที่จะดำเนินการก่อสร้าง และอยู่ใกล้ถนนสายอุบลราชธานี-นครพนม รัฐบาลไทยได้ให้ความเห็นชอบและตกลงให้ใช้บริเวณที่เลือกนี้เป็นที่ก่อสร้างสนามบิน และได้จัดซื้อที่ดินแปลงนั้นในทันที

วันที่ ๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๐๗ จอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี ได้เดินทางไปเยี่ยม และทำพิธีเปิดการก่อสร้างสนามบิน และตรวจแถวทหารกองเกียรติยศ ซึ่งประกอบด้วยหน่วยทหารไทย อังกฤษ และประเทศในเครือจักรภพ ได้ขับรถบูลโดเซอร์เพื่อโค่นต้นไม้เป็นปฐมฤกษ์ อันเป็นการแสดงถึงการเริ่มต้น แห่งการปฏิบัติงานก่อสร้าง

ต่อมาอำเภอเลิงนกทาได้รับอนุมัติให้ย้ายสถานที่ราชการออกมาตั้งอยู่ถนนชยางกูร บริเวณหลักกิโลเมตรที่ ๑๑๖ บ้านสามแยก หมู่ที่ ๑๘ ตำบลสวาท อำเภอเลิงนกทา (ปัจจุบันเป็นหมู่ที่ ๑๑ ตำบลสามแยก อำเภอเลิงนกทา) เนื่องจากบริเวณบ้านสามแยกมีการคมนาคมที่สะดวก และเป็นศูนย์กลางการคมนาคมระหว่างตำบลต่างๆ เหมาะสมกว่าบ้านเลิงนกทาเก่า

วันที่ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๐๘ จอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี ได้เดินทางมาเป็นประธานในพิธีเปิดสนามบินเลิงนกทา

ช่วงปี พ.ศ. ๒๕๐๘ พื้นที่อำเภอเลิงนกทา อำเภอชานุมาน และกิ่งอำเภอเสนางคนิคม จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งมีผืนป่าดงบังอี่และแนวเขาสลับซับซ้อนรอยต่อกับกิ่งอำเภอดอนตาล จังหวัดนครพนม เกิดการซ่องสุมกำลังพลของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย เพื่อต่อสู้กับรัฐบาลในสมัยนั้น โดยตั้งฐานที่มั่นอยู่บริเวณภูสระดอกบัว หรือ เขตงานคณะกรรมการจังหวัด ๔๔๔ (อุบลเหนือ) และปี พ.ศ. ๒๕๐๙ รัฐบาลได้ส่งกำลังเข้าทำการล้อมปราบพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย บริเวณภูแผงม้า บ้านด่าน อำเภอเลิงนกทา จังหวัดอุบลราชธานี

วันที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๕ จอมพลถนอม กิตติขจร ในฐานะหัวหน้าคณะปฏิวัติ ได้ออกประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ ๗๐ ให้แยกอำเภอยโสธร อำเภอกุดชุม อำเภอเลิงนกทา อำเภอคำเขื่อนแก้ว อำเภอมหาชนะชัย และอำเภอป่าติ้ว ออกจากจังหวัดอุบลราชธานี รวมจัดตั้งเป็นจังหวัดยโสธร จังหวัดที่ ๗๑ ของประเทศไทย มีผลตั้งแต่วันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ เป็นต้นไป จึงเป็นผลให้อำเภอเลิงนกทาถูกโอนย้ายมาขึ้นกับจังหวัดยโสธรนับแต่บัดนั้น

วันที่ ๑ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๓๕ กระทรวงมหาดไทยได้แบ่งท้องที่ตำบลไทยเจริญ ตำบลน้ำคำ ตำบลคำไผ่ ตำบลคำเตย และตำบลส้มผ่อ ของอำเภอเลิงนกทา ตั้งขึ้นเป็น กิ่งอำเภอไทยเจริญ ตั้งที่ว่าการกิ่งอำเภออยู่ที่ตำบลไทยเจริญ ให้อยู่ในเขตการปกครองของอำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร

วันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๘ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จฯ พระราชดำเนินโดยเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่งจากพระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ จังหวัดสกลนคร เพื่อทรงเยี่ยมราษฎรหมู่บ้านต่างๆ ณ บ้านน้อมเกล้า ตำบลบุ่งค้า อำเภอเลิงนกทา และทรงมีพระราชดำริให้พิจารณาดำเนินการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยทมโดยการปิดกั้นลำน้ำห้วยทม เพื่อเป็นแหล่งน้ำใช้ในการเพาะปลูกและการอุปโภคบริโภค

วันที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๐ กระทรวงมหาดไทยมีพระราชกฤษฎีกายกฐานะกิ่งอำเภอไทยเจริญขึ้นเป็น อำเภอไทยเจริญ โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ ๒๖ กันยายน ปีเดียวกัน กลายเป็นอำเภอลำดับที่ ๙ ของจังหวัดยโสธร และเป็นลำดับที่ ๗๗๔ ของประเทศไทย

 

คำขวัญ

เกษตรกรรมฟูเฟื่อง เมืองนกทาใหญ่
ถิ่นภูไทงามเลิศ ต้นกำเนิดสายธาร
งามตระการภูถ้ำพระ แหล่งธรรมะดีเด่น

 

แหล่งข้อมูล

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. อำเภอเลิงนกทา. สืบค้นเมื่อ วันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๖๖, จาก: https://kku.world/kj4vd

 

สถานที่ท่องเที่ยว

แหล่งโบราณคดีโนนหนองจอก ตำบลกุดแห่ อำเภอเลิงนกทา
วัดพรหมวิหาร ตำบลเลิงนกทา อำเภอเลิงนกทา

สถิติผู้เข้าชมเว็บไซต์
  • Today's visitors: 21
  • Today's page views: : 22
  • Total visitors : 2,639
  • Total page views: 3,411