อำเภอเมืองยโสธร

เขตการปกครอง

อำเภอเมืองยโสธร แบ่งพื้นที่การปกครองเป็น ๑๘ ตำบล ๑๙๐ หมู่บ้าน ได้แก่

๑. ในเมือง (Nai Mueang)       หมู่บ้าน
๒. น้ำคำใหญ่ (Nam Kham Yai)        หมู่บ้าน
๓. ตาดทอง (Tat Thong)        หมู่บ้าน
๔. สำราญ (Samran)        หมู่บ้าน
๕. ค้อเหนือ (Kho Nuea)        หมู่บ้าน
๖. ดู่ทุ่ง (Du Thung)        หมู่บ้าน
๗. เดิด (Doet)        หมู่บ้าน
๘. ขั้นไดใหญ่ (Khandai Yai)        หมู่บ้าน
๙. ทุ่งแต้ (Thung Tae)        หมู่บ้าน
๑๐. สิงห์ (Sing)        หมู่บ้าน
๑๑. นาสะไมย์ (Na Samai)        หมู่บ้าน
๑๒. เขื่องคำ (Khueang Kham)        หมู่บ้าน
๑๓. หนองหิน (Nong Hin)        หมู่บ้าน
๑๔. หนองคู (Nong Khu)        หมู่บ้าน
๑๕. ขุมเงิน (Khum Ngoen)        หมู่บ้าน
๑๖. ทุ่งนางโอก (Thung Nang Ok)        หมู่บ้าน
๑๗. หนองเรือ (Nong Ruea)        หมู่บ้าน
๑๘. หนองเป็ด (Nong Pet)        หมู่บ้าน

จังหวัดยโสธร แบ่งเขตการปกครอง ออกเป็น ๙ อำเภอ ได้แก่

อำเภอเมืองยโสธร อำเภอเลิงนกทา อำเภอไทยเจริญ อำเภอกุดชุม อำเภอทรายมูล
อำเภอป่าติ้ว อำเภอคำเขื่อนแก้ว อำเภอมหาชนะชัย อำเภอค้อวัง

 

ที่ตั้งและอาณาเขต

อำเภอเมืองยโสธร ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัด มีเนื้อที่ประมาณ ๕๗๘.๒๐ ตารางกิโลเมตร หรือ ๓๖๑,๓๗๘.๕ ไร่ โดยมีอาณาเขตเขตติดต่อ ดังนี้

ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอเสลภูมิ (จังหวัดร้อยเอ็ด) อำเภอทรายมูล และอำเภอกุดชุม (จังหวัดยโสธร)
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอป่าติ้ว (จังหวัดยโสธร)
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอคำเขื่อนแก้ว และอำเภอพนมไพร (จังหวัดร้อยเอ็ด)
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเสลภูมิ (จังหวัดร้อยเอ็ด)

 

ประวัติความเป็นมา

พงศาวดารเมืองยโสธรจารึกว่า พ.ศ. ๒๓๑๔ พระวรราชปิตา เจ้าผู้ครองนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน (หนองบัวลุ่มภู) พระโอรสของเจ้าอุปราชนอง ปฐมราชวงศ์แสนทิพย์นาบัว ทรงมีรับสั่งให้ท้าวคำสู ท้าวคำขุย ท้าวคำสิงห์ พร้อมญาติ ลงมาหาทำเลที่ตั้งบ้านเมืองบริเวณดงผีสิงห์ และตั้งบ้านเมืองขึ้นนามว่า บ้านสิงห์ท่าบ้านสิงห์โคก

พ.ศ. ๒๓๑๕ พระวรราชภักดี ท้าวฝ่ายหน้า ท้าวคำผง ท้าวทิดพรหม และท้าวก่ำ ได้หนีราชภัยสงครามลงมาหวังจะไปอาศัยอยู่กับเจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์ แต่ก็ได้พาไพร่พลแวะพักอยู่ที่บ้านสิงห์ท่าบ้านสิงห์โคกด้วยเช่นกัน

พ.ศ. ๒๓๕๗ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงยกฐานะบ้านสิงห์ท่าขึ้นเป็น “เมืองยศสุนทร” ขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร ให้ราชวงศ์สิงห์เป็นเจ้าผู้ครองเมืองในราชทินนามที่พระสุนทรราชวงศา

พ.ศ. ๒๔๔๓ ได้รวมเข้าอยู่ในบริเวณอุบลราชธานี แล้วแบ่งเป็น ๒ อำเภอ เรียกอำเภออุทัยยะโสธร และ อำเภอปจิมยะโสธร ปี พ.ศ. ๒๔๕๐ เมืองยโสธรถูกยุบลงเพื่อรวมกับจังหวัดอุบลราชธานี

พ.ศ. ๒๔๕๓ ทางการได้ย้ายอำเภออุทัยยะโสธรไปตั้งที่ตำบลลุมพุก และภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอคำเขื่อนแก้ว ส่วนอำเภอปจิมยะโสธรซึ่งตั้งอำเภออยู่ในเมืองต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอยะโสธร ในพ.ศ. ๒๔๕๖

พ.ศ. ๒๕๑๕ ได้มีการจัดตั้งจังหวัดยโสธรโดยประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ ๗๐ ลงวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ โดยแยกอำเภอยโสธร อำเภอคำเขื่อนแก้ว อำเภอมหาชนะชัย อำเภอป่าติ้ว อำเภอเลิงนกทา และอำเภอกุดชุมออกจากจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อรวมกันเป็นจังหวัดยโสธรตั้งแต่วันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๕

คำขวัญ

เมืองบั้งไฟโก้ แตงโมหวาน
หมอนขวานผ้าขิด แหลงผลิตข้าวหอมมะลิ

 

แหล่งข้อมูล

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. อำเภอเมืองยโสธร. สืบค้นเมื่อ วันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๖๖, จาก: https://kku.world/g64lq 

 

สถานที่ท่องเที่ยว

ศาลหลักเมืองยโสธร อำเภอเมืองยโสธร

วัดตับเต่าเก่า อำเภอเมืองยโสธร
สถิติผู้เข้าชมเว็บไซต์
  • Today's visitors: 11
  • Today's page views: : 19
  • Total visitors : 3,904
  • Total page views: 4,880